วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดทดสอบความรู้

แบบฝึกหัดทดสอบความรู้

     1.ที่ราบดินตะกอนที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งเขตที่ราบใด ?
      ก.เขตทิวเขาภาคเหนือ                 ข. เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      ค.เขตที่ราบภาคกลาง                   ง. เขตที่ราบภาคใต้

      2.  ประเทศไทยมีลักษณะเด่นภูมิประเทศกี่ลักษณะ?
  ก.    2 ลักษณะ                                ข.  3 ลักษณะ
      ค.    4 ลักษณะ                                ง.   5 ลักษณะ


 3.ภาคกลางของประเทศไทยมีกี่จังหวัด
 ก. 22   จังหวัด
 ข. 18    จังหวัด    
 ค.  14     จังหวัด    
 ง.  25    จังหวัด
 4.  บริเวณภาคกลางของประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นกี่ส่วน
ก.  2 ส่วน
ข.   3 ส่วน
ค.   4 ส่วน
ง.   5 ส่วน

5.  ทิวเขาเหนือสุดของประเทศไทย มีทิศทางส่วนใหญ่ทอดตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
1.  ทิวเขาแดนลาว
2.  ทิวเขาถนนธงชัย
3.  ทิวเขาดอยมอนกุจู
4.   ทิวเขาดอยอินทนนท์

6.   ทิวเขาหลวงพระบางอยู่ระหว่างพรมแดนใด

1.   พรมแดนระหว่างไทยกับลาวในภาคเหนือ
2.   พรมแดนระหว่างไทยกับพม่า
3.   พรมแดนระหว่างไทยกับเวียดนาม
4.   พรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย 

7.จังหวัดใดในข้อต่อไปนี้ไม่ได้อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
ก.สตูล
ข.นครศรีธรรมราช
ค.สมุทรสาคร
ง.ภูเก็ต

    8.ที่ตั้งของภาคใต้มีอาณาเขตติดต่อกับภูมิภาคอื่นดังนี้  ยกเว้นข้อใด


ก.ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดเพชรบุรีดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคใต้ คือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
ข.ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคใต้ คือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ค.ทิศใต้  ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของภาคใต้ คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ง.ทิศตะวันตก  ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคใต้ คือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 

9.ภาคตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับภาคใด
ก.ภาคใต้และภาคตะวันตก
ข.ภาคเหนือและภาคตะวันตก
ค.ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ง.ภาคกลางและภาคใต้

10.ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายคลึงกับภาคใดมากที่สุด
ก.ภาคใต้
ข.ภาคเหนือ
ค.ภาคตะวันออก
ง.ภาคกลางตอนบน

    11. บริเวณพื้นที่ใด ที่มีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน และแล้งเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูร้อน

ก.  บริเวณตั้งแต่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีลงไป
ข.  บริเวณตั้งแต่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ลงไป
ค.  บริเวณตั้งแต่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป
ง.  บริเวณตั้งแต่อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตขึ้นไป

   12. อากาศแบบฝนเมืองร้อนตลอดปี (Tropical rainy forest)   มีลักษณะป่าเป็นแบบใด

ก.  ป่าเต็งรัง
ข.  ป่าดิบ
ค.  ป่าสน
ง.  ป่าพรุ

   13.  ในช่วงเดือนใดเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์สูงสุด

ก.  ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ข.  ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ค.  ระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ง.  ระหว่างปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม

   14.  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดินในระหว่างช่วงเดือนใด

ก.  ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม
ข.  ระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนตุลาคม
ค.  ระหว่างปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนตุลาคม
ง.  ระหว่างปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนตุลาคม
 

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย



ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย


        ประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันเล็กน้อย  จัดเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical rainy climates) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ



อากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูหรืออากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savanna climate) ได้แก่ บริเวณตั้งแต่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน และแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน ดังนั้นลักษณะพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่จึงเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ประเภทป่าผลัดใบ เช่น ทุ่งหญ้าและป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ในภาตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นที่นา และเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเกือบหมดแล้ว





อากาศแบบฝนเมืองร้อนตลอดปีหรืออากาศแบบป่าดิบ (Tropical rainy forest) ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนตกหนักตลอดปี ประมาณ 2,000 2,500 มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะพืชพรรณจึงเป็นป่าไม้เขียวชอุ่มทั้งปี จึงเรียกว่าป่าดิบ




อากาศแบบฝนเมืองร้อนเกือบตลอดปีหรืออากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical monsoon- climates) ได้แก่ บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย จะได้รับฝนมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่าน และมีช่วงที่ฝนน้อยอยู่ 1 เดือนหรือ 2 เดือน ฉะนั้นจึงไม่จัดเป็นฝนตกตลอดปี ลักษณะพืชพรรณเป็นป่าดิบเช่นเดียวกับฝั่งตะวันออก


    



   
 ภูมิอากาศประเทศไทยได้รับอิทธิพลหรือมีปัจจัยสำคัญจากระบบลมมรสุม คือ






     ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากแผ่นดินบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียระหว่างปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีอุณภูมิต่ำและแห้งแล้ง ท้องฟ้ามีเมฆน้อย และพืชพรรณบางชนิดมีการทิ้งใบจัดเป็นฤดูหนาว



       ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดินระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม โดยนำอากาศร้อนและความชื้นเข้ามา จึงทำให้มีฝนตกกระจายทั่วไป ซึ่งจะตกหนักและตกชุกบริเวณชายฝั่งและด้านรับลมของเทือกเขาจัดเป็นฤดูฝน


ช่วงการเปลี่ยนผ่านฤดูกาลระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์สูงสุด เนื่องจากได้รับแสงตั้งฉากจากดวงอาทิตย์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง จัดเป็นฤดูร้อน







ภูมิอากาศของประเทศไทย




ฤดูหนาว
ท้องฟ้ามีเมฆเป็นเส้นหรือเป็นแผ่น  มีหมอกในตอนเช้า  อากาศเย็น

ฤดูฝน
ท้องฟ้ามีเมฆมาก และกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนตกลงมา


ฤดูร้อน
ท้องฟ้าโปร่ง  มีเมฆก้อนลอยตัว  อากาศร้อนอบอ้าว



                                                                 https://sites.google.com/site/geographyofthailand47/phumisastr-prathesthiy/bth-thi3-laksna-phumi-xakas-khxng-prathes



วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภาคตะวันตก



ภาคตะวันตก

       ภาคตะวันตกมีจำนวนจังหวัดและประชากรน้อยที่สุดของประเทศไทย แต่เป็นแหล่งเกษตรกรรมแบบครบวงจรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีศักยภาพมาก เพราะมีท่าเรือขนส่งพาณิชย์ที่อำเภอชะอำเชื่อมต่อกับท่าเรือสัตหีบ และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พระรามราชนิเวศน์ และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นต้น
1.ลักษณะทางกายภาพ
ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 53,679 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 

ที่ตั้งและขอบเขตของภาค 
ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 
ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย 
ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 
ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ 
ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2.ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก 

ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้
2.1 เขตเทือกเขา ได้แก่
- เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก 
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี 
- เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
2. 2 เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว 

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก
แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม 
แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย 
แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่ 
แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน

แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

3.ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก     ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก 
1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น 
2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน 
3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี 
4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง 

4.ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก 4.1 ทรัพยากรดิน 
ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด 
4.2 
ทรัพยากรน้ำ
ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี 
4.3
ทรัพยากรป่าไม้
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก
4.4 ทรัพยากรแร่ธาตุ ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
5.ลักษณะทางวัฒนธรรม : ประชากรในภาคตะวันตกภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก 
ปัญหาประชากรในภาคตะวันตก 
1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน 
2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก 

6.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
6.1การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี 
6.2การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร 
6.3การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า 
6.4การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย 
6.5 การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน 
6.6อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่องเที่ยว 

ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ 
2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง 
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการค้า และธุรกิจ

ภาคตะวันออก




ภาคตะวันออก

       ภาคตะวันออกมีพื้นที่น้อยที่สุดของประเทศไทย แต่ได้ชื่อว่า “อีสเทิร์นซีบอร์ด” เพราะตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล มีท่าเรือน้ำลึก สะดวกในการขนส่งสินค้า เป็นเขตแปรรูปสินค้าเกษตรแบบครบวงจร มีก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เศรษฐกิจของภาคตะวันออกเจริญมาก
1. ลักษณะทางกายภาพ
ภาคตะวันออกมีเนื้อที่ประมาณ 34,380 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ที่ตั้งและขอบเขตภาคตะวันออก
ทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชา ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพฯ สมุทรปราการ อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนใต้สุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
2.ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออก
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล
- เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา
- เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี
- เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน
ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง ๆ เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน

แม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก
1. แม่น้ำบางปะกง หรือแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา
2. แม่น้ำระยอง มีต้นกำเนิดที่จังหวัดชลบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดระยอง
3. แม่น้ำเวฬุ มีต้นกำเนิดที่เทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่จังหวัดจันทบุร ี
4. แม่น้ำจันทบุรี
3.ทรัพยากรธรรมชาติของภาคตะวันออก 
3.1 ทรัพยากรดิน 
      ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเป็นดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่อุดมสมบูรณ์ บริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึงจะเป็นดินโคลนหรือดินเหนียว ส่วนดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินบะซอลต์ หินปูนในบริเวณที่สูงเหมาะแก่การปลูกพืชสวน เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมีดินอัลลูเวียนที่เหมาะใช้ทำนา 3.2 ทรัพยากรน้ำ
ภาคตะวันออกมีฝนตกชุกยาวนานและมีแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีการขาดแคลนน้ำจืดในเขตอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัดชลบุรี

3.3 ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกจะเป็นป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าชายเลน และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนจังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี 
3.4ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคตะวันออกมีแร่หลายชนิด ได้แก่
- เหล็ก พบที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา
- พลวง พบที่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี
- แร่รัตนชาติ เช่น คอรันตัม(พลอยสีน้ำเงิน,ไพลิน) บุษราคัม พบมากที่จังหวัดจันทบุรี และตราด ,ทับทิม พบที่จังหวัดตราด
- แร่เชื้อเพลิง พบที่บริเวณอ่าวไทย บริเวณมาบตาพุดจังหวัดระยอง 
4. ลักษณะทางวัฒนธรรม ประชากรในภาคตะวันออก
ประชากรในภาคตะวันออกมีจำนวนประชากรน้อยรองจากภาคตะวันตก จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ ตราด และจังหวัดที่มีความหนาแน่นประชากรเบาบางที่สุดคือ จังหวัดสระแก้ว 
ปัญหาของประชากรในภาค 
1. ปัญหาการอพยพของชาวกัมพูชา
2. ปัญหาการล่วงล้ำอธิปไตยและความปลอดภัยของประชากรตามแนวชายแดน
5.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 
5.1 การเพาะปลูกที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ จะทำนาส่วนใหญ่พืชผลที่สำคัญได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน เป็นต้น 
5.2 การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ เป็ด
5.3การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มบริเวณชายฝั่งที่ติดทะเล เช่น ชลบุรี ระยอง ส่วนประมงน้ำจืดที่จังหวัดปราจีนบุรี
5.4 การทำเหมืองแร่ แร่รัตนชาติที่จังหวัดจันทบุรี และตราด
5.5 อุตสาหกรรม
มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรม เช่น แหลมฉบัง เป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมหนัก  สัตหีบ เป็นอุตสาหกรรมการต่อเรือ ขนถ่ายสินค้าทางเรือ

ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 
1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ รวมถึงกรรมสิทธิในที่ดิน
2. ปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การขาดแคลนน้ำจืด และน้ำเค็มรุกเข้าสวนผลไม้
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้ในการเกษตร