วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภาคใต้

ภาคใต้



ภูมิลักษณ์ภาคใต้




 ที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต
          ภาคใต้มีเนื้อที่ทั้งหมด 70,715.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 13.64 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ
ประกอบด้วยพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา
นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ลักษณะที่ตั้งและเขตติดต่อของแต่ละจังหวัดจะทอดยาว
อยู่บนส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู อาณาเขตของภาคใต้มีความยาวประมาณ 750 กิโลเมตร และมีความ
กว้างประมาณ 30 -250 กิโลเมตร ตอนแคบที่สุดกว้าง ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ที่คอคอดกระ จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ เป็นภาคที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ รองมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือ และภาคกลาง

ที่ตั้งของภาคใต้มีอาณาเขตติดต่อกับภูมิภาคอื่น ดังนี้
- ทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคใต้ คือ อ าเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
- ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคใต้ คือ อ าเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
- ทิศใต้
ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของภาคใต้ คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
- ทิศตะวันตก
ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคใต้ คือ อ าเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา



ลักษณะธรณีวิทยา
ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา และการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานวิทยาของภาคใต้พบว่า
เทือกเขาภูเก็ตประกอบด้วยหินชุดแก่งกระจาน ทางด้านใต้ของ เทือกเขานี้เป็นหินชุดราชบุรี และ มี
หินแกรนิตยุคครีเตเชียสแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ ซึ่งหินแกรนิตยุคนี้มีแร่ดีบุกตกผลึกอยู่มากมาย ตั้งแต่ จ.
ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่วนเทือกเขา นครศรีธรรมราชนั้นมีหินชุดภูกระดึงผ่านจาก จ.สุราษฎร์ธานีไปยัง
กระบี่ สลับหินชุดราชบุรี และชุดทุ่งสง บริเวณเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เป็นหินแกรนิต ยุคเดียวกันกับ
หินแกรนิต ในเทือกเขาภูเก็ต บริเวณรอบ ๆ เขาหลวงมีหินชุดตะรุเตา ยุคแคมเบรียม ซึ่งเป็นหินที่มีอายุเก่าแก่
ชนิดหนึ่งที่พบในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศบริเวณภาคใต้นี้ท าให้ชายฝั่งทะเลด้าน
ตะวันออกยกตัวสูงขึ้น ชายฝั่งทะเลราบเรียบ มีหาดทรายสวยงามอยู่หลายแห่ง ซึ่งแตกต่าง จากชายฝั่งทะเล
ทางด้าน ตะวันตกแผ่นดินยุบตัวลงไป ชายฝั่งทะเลจมตัวท าให้ฝั่งทะเลขรุขระ เว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะมากมาย
บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดอ่าวไทย พื้นที่ทางด้านนี้เกิดจากการที่พื้นดินยกตัวสูงขึ้น ลักษณะฝั่ง
ทะเลราบเรียบ มีบริเวณเขตน้ าตื้น กว้างขวาง การยกตัวของพื้นที่ดังกล่าวทำให้มีที่ราบแคบ ๆ ตั้งแต่ จ.
ชุมพร ลงไปถึง จ.นราธิวาส และเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นและยังมีหาดทราย สวยงามหลาย
แห่ง และแม่น้ าสายสั้น ๆ ที่เกิดจากภูเขาทางตอนกลางได้แก่ คลองชุมพร แม่น้ าคีรีรัฐ แม่น้ าตาปี แม่น้ าปาก
พนัง และแม่น้ าโก-ลก เกาะที่ส าคัญ ได้แก่ เกาะสมุย และเกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งผลิตมะพร้าว ที่
มากที่สุดในภาคใต้


เทือกเขาภูเก็ต
เกาะสมุย


           

     ลักษณะทางภูมิอากาศ
๏ เขตภูมิอากาศ
ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็น
คาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ าขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงท าให้มีฝนตกตลอดปี
และเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุดเคยขึ้นสูงสุดที่จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ าสุดที่
จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส
๏ ฤดูกาล
ภาคใต้มีฤดูกาลที่ผิดแผกไปจากภาคอื่น ๆ คือมีฤดูที่เด่นชัดเพียง 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝนและฤดูร้อน ถ้า
นับฤดูตามลมที่พัดผ่านจะมี 3 ฤดู ดังนี้
-ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ส าหรับภาคใต้ฝนจะเริ่มตกเร็วกว่าภาค
อื่น ๆ 1-2 สัปดาห์
-ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในฤดูนี้ภาคต่าง ๆ จะมีอากาศ
เย็นและแห้งแล้ง แต่ภาคใต้อากาศไม่สู้เย็นนักและจะมีฝนตกตาม ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก โดยเฉพาะ
ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป
-ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้ดวงอาทิตย์ก าลัง
เคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางซีกโลกเหนือ ดังนั้นพื้นดินจะสะสมความ ร้อนไว้และร้อนขึ้น ในฤดูนี้
อุณหภูมิทางภาคใต้ของประเทศต่ ากว่าภาคอื่น ๆ เล็กน้อยเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลท าให้อากาศไม่สู้ร้อนจัด
๏ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของภาคใต้
1. ลม เป็นปัจจัยส าคัญที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้มากที่สุด เนื่องจากภาคใต้มีลักษณะ
เป็นคาบสมุทร ท าให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างเต็มที่
2. การวางตัวของภูเขา เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกท าให้ปะทะกับ
เทือกเขาตะนาวศรี ท าให้มีฝนตกหนักโดยเฉพาะจังหวัดระนอง ส่วนด้านหลังเขาเป็นเขตอับฝนจะอยู่ที่
จังหวัดสุราษฎร์ธาน
สถานภาพทรัพยากรทางธรรมชาติ

๏ ดิน : ดินในภาคใต้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ดินที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิประเทศ ดินที่ได้รับอิทธิพล
จากภูมิอากาศ และดินที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ดินที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิประเทศ มีลักษณะแตกต่างกันไป ได้แก่
-ดินตะกอนน้ำพา หรือดินบริเวณแอ่งแผ่นดิน ได้แก่ บริเวณสันดินริมฝั่งแม่น้ำ บริเวณที่มีเนื้อดิน
เป็นดินร่วนหรือดินปนทรายใช้ปลูกพืชไม้ผล เช่น จ.สุราษฎร์ธานี ส่วนบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงซึ่งเป็นดิน
เหนียวใช้ทำนา เช่น จ.ชุมพร สงขลา เป็นต้น
-ดินบริเวณที่ราบริมฝั่งทะเล ที่มีน้ำท่วมถึงและเคยท่วมถึง บริเวณที่มีน้ำท่วมถึงเป็นชายเลนจะมีป่า
โกงกางส่วนบริเวณที่น้ำเคยท่วมถึง แต่ต่อมาได้รับตะกอนจากลำน้ำจนพื้นที่สูงขึ้นและดินไม่เค็ม ใช้ทำนา
ได้ เช่น บริเวณ จ. นครศรีธรรมราช
-ดินทรายบริเวณหาดทรายหรือสันทราย เป็นบริเวณที่สนทะเลและป่าชายหาดขึ้นได้
-ดินบริเวณมาบและพรุ เป็นดินที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้น้อย นอกจากจะได้ระบายน้ำออกไป
เสียก่อน จึงจะสามารถใช้พื้นที่พรุในการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือเพาะปลูกพืชได้ นราธิวาสเป็นจังหวัดที่มี
ดินมาบและพรุอยู่มากและได้มีโครงการพัฒนาพรุอยู่เกือบทุกอำเภอ
ดินที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิอากาศ (อุณหภูมิและความชื้น) สำหรับในภาคใต้เป็นดินที่เกิดจากการกัด
กร่อนของหินประเภทต่าง ๆ บริเวณที่วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินเนื้อละเอียด เช่น หินดินดานหรือหินฟิลไลต์
กลุ่มดินที่พบเป็นพวกดินสีน้ าตาลปนแดงเป็นส่วนใหญ่ เนื้อดินดี ดินลึก เหมาะในการปลูกพืชต่าง ๆ เป็น
แหล่งสำคัญในการปลูกยางพาราและไม้ผลของภาคใต้
ดินที่ได้รับอิทธิพลของภูมิประเทศและภูมิอากาศ หรือดินตามตะพักระดับต่าง ๆ เป็นดินที่เคยได้รับ
อิทธิพลจากน้ำ แต่ต่อมาอิทธิพลของน้ำหมดไปหรือเพราะพื้นที่ยกระดับขึ้น ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน ส่วน
บริเวณที่เป็นดินเหนียวจะมีการระบายน้ำได้ไม่ดีนัก แต่สามารถใช้ในการทำนาได้บ้าง
๏ ลุ่มน้ำ
1. ลุ่มน้้าชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก
ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตกอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่รวม 7,123 ตาราง
กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาทางทิศตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน้ำ เช่น เทือกเขาใหญ่ เทือกเขาสามร้อยยอด
และไหลมาทางทิศตะวันออกลงสู่ทะเลอ่าวไทย โดยครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองอำเภอหัวหิน อำเภอปราณ
บุรีอำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพานใหญ่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอท่า
ยางและอำเภอชะอำของจังหวัดเพชรบุรีและอำเภอปะทิวจังหวัดชุมพร มีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คืออ่างเก็บน้ำ
เขื่อนปราณบุรีมีประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 46,843 คน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนาข้าวร้อยละ46.4 ป่าไม้
ร้อยละ 46.3 พืชไร่ร้อยละ 3.9 และที่ลุ่มร้อยละ 3.4
2. ลุ่มน้้าภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 26,547.66 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่บางส่วน
จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำ
ทะเลสาบสงขลาแทรกตัวเป็นช่วง ๆ
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ชายฝั่งติดอ่าวไทย มีความยาวตามชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
ลักษณะชายฝั่งราบเรียบมีที่ราบแคบ ๆ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงจังหวัดนราธิวาส แม่น้ำส่วนใหญ่ในลุ่ม
น้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ มีความยาวไม่มากนัก ความลาดชันของท้องน้ำสูงในบริเวณ
ต้นน้ำและลดน้อยลงในบริเวณตอนกลางและตอนปลายของลำน้ำ จนไหลออกอ่าวไทยทางทิศตะวันออก
แม่น้ำและลำน้ำโดยทั่วไปจะไหลไปทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มีปริมาณน้ า
ค่อนข้างมากในฤดูฝน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลหรือเผชิญกับพายุดีเปรสชั่นในบางครั้ง จึงมัก
ประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง และเนื่องจากลำน้ำที่สั้น และความเร็วกระแสน้ำสูง จึงมักเกิดการพังทลาย
และการกัดเซาะหน้าดิน น้ าไหลลงทะเลเร็วทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
3. ลุ่มน้้าตาปี
ลุ่มน้ำตาปีมีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งสิ้น 12,224 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
ลุ่มน้ำตาปี ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราชและทิวเขาภูเก็ต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แม่น้ำ
สายสำคัญ ได้แก่
-แม่น้ำตาปีมีต้นกำเนิดจากเขาช่องลม ใต้บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตอำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลขึ้นไปทางเหนือ ผ่านอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์
ธานี ความยาวรวม 232 กิโลเมตร
-แม่น้ำพุมดวง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูเก็ต ในเขตอำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพนม จังหวัดสุ
ราษฎร์ธานีไหลผ่านอำเภอต่าง ๆ มาบรรจบกับแม่น้ำตาปีที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความยาว
รวม 120 กิโลเมตร


ลุ่มน้ำตาปี

4. ลุ่มน้้าทะเลสาบสงขลา
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านตะวันออกของภาคใต้มีเนื้อที่ 9807 ตร.กม. (6,129,375
ไร่) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นดินมีเนื้อที่ประมาณ 8761 ตร.กม. และส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีพื้นที่
ประมาณ 1046 ตร.กม. มีความกว้างจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกประมาณ 20 กม. ส่วนความยาวจากทิศ
เหนือไปทิศใต้ประมาณ 75 กม.
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
-ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ทิศใต้ติดต่อประเทศมาเลเซีย
-ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาและทะเลอ่าวไทย
-ทิศตะวันตก ติดต่อเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรังและจังหวัดสตูล
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

5. ลุ่มน้้าปัตตานี
มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวม 3,858 ตร.กม. ครอบคลุม พื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดปัตตานี
ทิศเหนือ ติดกับอ่าวไทยที่ปากแม่น้ำปัตตานี
ทิศใต้ ติดกับประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ติดกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกโดยมีแม่น้ำปัตตานีเป็นลำน้ำหลัก
และมีแม่น้ำยะหาเป็นลำน้ำสาขา ในช่วงตอนปลายมีคลองหนองจิกแยกออกจากแม่น้ำปัตตานีและมีคลอง
เล็กๆอีกมากมาย
ลุ่มน้ำปัตตานี

6. ลุ่มน้้าภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ลุ่มน้ำคใต้ฝั่งตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่
นครศรีธรรมราช ตรังและสตูล พื้นที่ลุ่มน้ำทั้งสิ้น 20,473 ตารางกิโลเมตร
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีลักษณะคล้ายคลึงกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นพื้นที่ชายฝั่งติดกับ
ทะเลอันดามัน มีเทือกเขาภูเก็ตพาดผ่านจากจังหวัดระนองลงมาจนถึงจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำ
สายต่าง ๆ แม่น้ำและลำน้ำทั่วไปมีความยาวไม่มากนักและไหลลงสู่ทะเลอันดามันไปทางทิศ ตะวันตกและ
ตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ภูมิประเทศเกิดจากแผ่นดินยุบตัวลงไป ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่ง มีอ่าวและเกาะ
ต่าง ๆ มากมาย เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะภูเก็ต เกาะตรูเตา เกาะลันตา เกาะลิบง เกาะพระทอง และเกาะ
ยาวใหญ่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ตั้งแต่จังหวัดพังงาไปถึงจังหวัดสตูล
แม่น้ำสายสำคัญที่สุดในพื้นที่ลุ่มน้ำได้แก่แม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ใน
อำเภอทุ่งสง ไหลผ่านอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรังแล้วไหลไปลงทะเลอันดามัน
ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีความยาวรวมประมาณ 175 กิโลเมตร
๏ ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นป่าดิบชื้นตามเทือกเขา และป่าชายเลน จังหวัดที่ป่าไม้มากสุดคือ
สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าแพะ ป่าโคก ขึ้นปะปนกับทุ่งหญ้าสะวันนา ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ คือ ไม้เบญจ
พรรณและไม้จากป่าชายเลน
๏ ทรัพยากรแร่
ภาคใต้มีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนี้
-แร่ดีบุก พบมากที่สุดในภาคใต้และของประเทศไทย ซึ่งถือว่า
เป็นแร่ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด พบมากในอำเภอตะกั่วป่าจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา
-แร่พลวง พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช
-แร่ทังสเตน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทองค้า พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร
-แร่ฟลูออไรด์,ยิปซัม, ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
-ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี
- น้้ามันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย

ที่มา :  www.flipbooksoft.com/upload/books/02-2012/.../ภาคใต้.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น