วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภูมิลักษณ์ประเทศไทย

ภูมิลักษณ์ประเทศไทย

ภูมิลักษณ์ ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Landform หมายถึง รูปแบบหรือลักษณะของพื้นผิวโลกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีรูปพรรณสัณฐานต่างๆกัน เช่น ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบอื่นๆ
ภูมิลักษณ์ หมายถึง สภาพทั่วๆไปของผิวโลก ซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อันได้แก่ ความสูงต่ำของผิวโลก ทางน้ำและแหล่งน้ำ ถนน เมือง เป็นต้น สิ่งที่อยู่บนผิวโลกแต่ละอย่างเป็นต้นว่าภูเขา หรือหุบเขา ที่เรียกว่าภูมิลักษณ์

ประเทศมีลักษณะภูมิประเทศเด่น 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1    เขตทิวเขาภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ เนื่องจากภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้มีแนวทิวเขากันกันต่อเนื่องตลอด โดยทิวเขาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัยที่โค้งลงมาทางใต้ ผ่านประเทศจีน พม่า ไทย และมาเลเซียตามลำดับ ได้แก่ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันกาลาคีรีนอกจากนี้ยังมีทิวเขาบริเวณส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย ได้แก่ ทิวเขาหลวงพระบาง ทิวเขาผีปันน้ำ ทิวเขาเพชรบูรณ์ ทิวเขาภูพาน ทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาพนมดงรัก และทิวเขาบรรทัด
 ทิวเขาถนนธงชัย(อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่)

 ทิวเขาสันกำแพง(จ.ปราจีนบุรีต่อจ.สระเเก้ว)

1.2    เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเรียกกันว่า ที่ราบสูงโคราช มีลักษณะเป็นขอบสูงชัน 2 ด้าน คือ ขอบทางด้านทิศตะวันตก เป็นแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งยกตัวสูงขึ้นไปจากที่ราบภาคกลาง และขอบทางด้านทิศใต้ ซึ่งติดกับที่ราบของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นแนวเทือกเขาสันกำแพงและพนมดงรัก
      ขอบสูงชันทั้ง 2 ด้านจะค่อย ๆ ลาดลงเป็นแอ่งทางตอนกลาง ซึ่งแยกออกจากกันเป็น 2 แอ่ง โดยมีทิวเขาภูพานเป็นแนวกั้นแอ่งทางตอนเหนือเรียกกว่า แอ่งสกลนคร ส่วนแอ่งทางด้านใต้เรีกว่า แอ่งโคราช

1.3   เขตที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา แม่น้ำอื่น ๆ ไหลผ่าน ส่วนที่ราบอื่น ๆ ที่สำคัญเช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ในภาคเหนือมีที่ราบลุ่มน้ำระหว่างภูเขา เป็นต้น ส่วนทางภาคตะวันออกและภาคใต้ มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล




ตัวอย่างวิดิโอที่แสดงถึงภูมิลักษณ์ในประเทศไทย







cr:http://writer.dek-d.com/magumi/story/viewlongc.php?id=563264
       

1 ความคิดเห็น: